ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: ข้อความระวังการใช้ 'กระชาย'-'ขิง' ย้ำควรใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่ม  (อ่าน 26 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 412
    • ดูรายละเอียด
กระชายพลัส: ข้อความระวังการใช้ 'กระชาย'-'ขิง' ย้ำควรใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่ม

‘สมุนไพร’ได้รับความนิยมอย่างมากในการป้องกัน รักษา และเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อห่างไกลจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ 'กระชาย' และ 'ขิง' ที่มีงานวิจัยการันตีว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19

ในขณะนี้ มีหลากหลายสมุนไพรที่มีคุณสมบัติต้านไวรัส เสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายเป็นอย่างดี ทางคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย จากสมุนไพร 122 ชนิด เพื่อค้นหายาต้านเชื้อโควิด-19 พบว่า สารสกัดจากกระชาย สารสกัดของ ขิง มีฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19

   
'กระชายเหลือง'ต้านเชื้อโควิด ไม่ใช่กระชายขาว

รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ จากวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม กล่าวว่าตอนนี้หลายคนได้มีการนำกระชายมาใช้เพื่อป้องกันโควิด-19 ซึ่งจริงๆ แล้ว ยังไม่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ได้ แต่มีการค้นพบตัวยาต้านเชื้อโควิด-19 ได้ อีกทั้ง กระชายที่ต้านเชื้อโควิด-19 ได้นั้น ต้องเป็นกระชายเหลือง ที่นำมาใช้ประกอบอาหาร ไม่ใช่กระชายขาวที่หลายคนเข้าใจ และไปหามาต้มรับประทาน

กระชาย มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์น้อยกว่าฟ้าทะลายโจรอย่างมาก และส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาในหลอดทดลอง โดยกระชายเป็นตระกูลเดียวกับ ขิง ข่า ส่วนที่รับประทานได้ เรียกว่า รากย่อย  และต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากใช้มากเกินไปก็จะมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน

"วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทย สนับสนุนให้มีการนำอาหารสมุนไพร ได้แก่ กระชาย ขิง ข่า และอื่นๆ มาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ สร้างภูมิคุ้มกันในรูปแบบของการทำเป็นอาหาร เครื่องดื่ม และต้องใช้ปริมาณการบริโภคแบบอาหาร เครื่องดื่ม เป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย”

   
ข้อความระวังในการใช้ ‘กระชาย’

รศ.ดร.ภญ.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวเสริมว่า สำหรับข้อควรระวังในการใช้กระชายนั้น  มีดังนี้

    ต้องคำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ ได้แก่ ท้องเสีย หรือปวดศีรษะ
    ห้ามรับประทานปริมาณมากในหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้แท้งได้ เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อน
    มีรายงานว่าผู้สูงอายุ รับประทานกระชายเป็นประจำ จะเกิดอาการกรดไหลย้อน
    ผู้ที่ใช้กระชายร่วมกับกระเทียม เกิดอาการแน่นหน้าอก อาการเข้าได้กับภาวะกรดไหลย้อน
    พบ 8 ราย รับประทานผงกระชาย 400 มก. ตอนท้องว่าง หลังจากนั้นรู้สึกว่าบีบหัวใจเมื่อหยุดกระชายอาการดีขึ้น
    ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานปริมาณมากร่วมกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น กระเทียม พริกไทย หรือ ขิง และรับประทานหลังอาหาร
    ระวังการรับประทานปริมาณมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 3 เพราะอาจได้รับโพแทสเซียมเกินขนาด ซึ่งส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติได้ (กระชายดิบ 100 กรัม มี K288 มก.)
    มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง
    ควรระวังการรับประทานในปริมาณมากหรือเป็นประจำในผู้ที่มีเยื่อบุโพรงจมูกมดลูกเจริญผิดที่ ซีสต์ หรือ ก้อนเนื้อในมดลูก เพราะอาจทำให้โรคกำเริบได้
    มีฤทธิ์ทำให้ทางเดินน้ำดีหดตัว เพิ่มการหลั่งน้ำดี จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่มีทางเดินน้ำดีอุดตัน
    ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยในคนว่ากระชาย สามารถรับประทานเพื่อป้องกันโควิด-19ได้ แต่ถ้าจะกินเสริมภูมิระหว่างกระชายกับขิง แนะนำให้ทานขิงปลอดภัยกว่า และควรเว้นช่วงรับประทาน เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์
    การรับประทานเป็นอาหารปริมาณน้อย โอกาสตีกับยาน้อย

     
วิธีการใช้ 'กระชาย' ให้เห็นผลและปลอดภัย

สำหรับการใช้กระชายให้ได้ประโยชน์ และปลอดภัย มีดังนี้

- รับ ประทานขนาดน้อย ๆ เป็นอาหารสลับ ชนิดรับประทาน เช่น รับประทานอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง และควรรับ ประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

- การกระชายรับประทานเป็นอาหาร จะเป็นการปรุงสุกโดยใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยเพิ่มการดูดซึมสาระสำคัญ

- ปั่นน้ำกระชายรับประทาน ควรรับประทานเนื้อด้วย  เพราะสารสำคัญอยู่ในเนื้อ

- ระวัง!ถ้ารับประทานปริมาณมาก อาจทำให้ท้องอืดได้ เพราะกากใยย่อยยาก

- กระชายดิบ ไม่มี calcium oxalate และยังไม่มีข้อมูลว่ากระชายดิบ มีสารทำให้เกิดพิษ

- เมื่อรับประทานแล้วรู้สึกร้อนเกิน ให้หยุดรับประทาน และรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ฟักเขียว เพื่อ

- ลดการเกิดผลข้างเคียงจากกระชาย

- ควรงดรับประทานเมื่อมีไข้ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

- ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่ากระชายป้องกันการติดโควิดได้ จึงไม่แนะนำให้รับประทานขนาดสูง ติดต่อกันเป็นประจำในคนทั่วไป เพราะทำให้ร้อนในได้

- ไม่แนะนำให้รับประทานฟ้าทะลายโจร (ฤทธิ์เย็น) + กระชาย (ฤทธิ์ร้อน) เพื่อป้องกันการติดโควิด เพราะยังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าป้องกันได้และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์